: หน้าแรก

    : แนะนำการใช้บทเรียนออนไลน์

    : คำอธิบายรายวิชา
    : แบบทดสอบก่อนเรียน
    1. หลักการเขียนโปรแกรม
    2. ขั้นตอนการเขียนโปรแกรม
        - จุดประสงค์การเรียนรู้
         แบบทดสอบก่อนเรียน
        2.1 ขั้นตอนการเขียนโปรแกรม
        2.2 อัลกอริทึม
        2.3 รหัสเทียม
        2.4 ผังงาน
        2.5 สัญลักษณ์ผังงาน
         แบบทดสอบท้ายบทเรียน
    3. โครงสร้างภาษาคอมพิวเตอร์
    4. กระบวนการเขียนโปรแกรม
    5. พอยน์เตอร์
    6. ฟังก์ชั่น
    7. การออกแบบโปรแกรมอย่างง่าย
    8. การโปรแกรมเพื่องานธุรกิจ
    : ข้อมูลผู้เรียน
    : แบบทดสอบหลังเรียน
    : แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม
    : ผู้จัดทำ
 
สวัสดีคุณ      รหัสประจำตัว     [ แก้ไขข้อมูล ] [ ออกจากระบบ ]  
       
 
 
                การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นการพัฒนาโปรแกรมหรือแอพพลิเคชั่นต่างๆ ด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ที่โครงสร้าง
ภาษามีความสลับซับซ้อน ผู้เขียนโปรแกรมจึงต้องมีความเข้าใจขั้นตอนการทำงานและปัญหาของระบบการทำงาน เพื่อนำมาออก
แบบการรับข้อมูลเข้า การประมวลผล และผลลัพธ์ที่ต้องการในการเขียนโปรแกรม ให้ตรงและตอบสนองการทำงานของผู้ใช้
โปรแกรม ผู้เขียนจึงต้องมีความเข้าใจขั้นตอนการออกแบบโปรแกรม เพื่อลดปัญหาในการเขียนโค้ดของโปรแกรมที่มีความยุ่งยาก
ให้ออกแบบโปรแกรมได้อย่างมีระบบ โดยการเขียนโปรแกรมประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ดังนี้
                เป็นการแยกแยะรายละเอียดของปัญหาและความต้องการออก เป็นส่วนย่อยๆ ให้ครอบคลุมการทำงานของโปรแกรมที่ต้องการเขียน ทั้ง หมด เพื่อให้เห็นถึงองค์ประกอบ ความสัมพันธ์ ความต้องการ และ แนว ทาง การแก้ปัญหาที่ถูกต้องอย่างครบถ้วน โดยวิเคราะห์จาก ผลลัพธ์ (Output) และข้อมูล (Data) ที่นำเข้ามา แล้วนำ สิ่งเหล่านี้ มาวิเคราะห์กำหนดขั้นตอนการทำงานและกระบวนการแก้ไขปัญหาของโปรแกรม

ขั้นตอนการแก้ปัญหา
                การออกแบบโปรแกรม เป็นการแสดงลำดับของการทำงานของโปรแกรม เพื่อให้เห็นภาพรวมของการทำงานของขั้นตอนทั้งหมด และเป็นการวางแผนการทำงานไว้ล่วงหน้า ขั้นตอนนี้ยังไม่เป็นการเขียนโปรแกรมจริง แต่จะช่วยให้การเขียนโปรแกรมทำได้ง่ายขึ้น โดยเขียนตามขั้นตอนที่ได้ออกแบบไว้ และยังช่วยให้การเขียนโปรแกรมมีข้อผิดพลาดน้อยลง นอกจากนี้ยังช่วยในการตรวจสอบการทำงานของโปรแกรมทำให้ทราบขั้นตอนการทำงานจริง เปรียบเหมือนการสร้างแปลนบ้านลงกระดาษ ซึ่งผู้สร้างบ้านจะอาศัยแปลนบ้านนี้ เป็นแบบในการสร้าง ซึ่งในการเขียนโปรแกรมสามารถทำได้โดยใช้เครื่องมือต่างๆมาช่วยในการออกแบบต่างๆได้ดังนี้

                • การออกแบบโปรแกรมโดยใช้ อัลกอริธึม (Algorithm)
                • การออกแบบโปรแกรมโดยใช้ รหัสจำลอง (Pseudo Code)
                • การออกแบบโปรแกรมโดยใช้ ผังงาน (Flowchart)

                โดยทั่วไปผู้เขียนโปรแกรมจะแสดงการทำงานของโปรแกรมโดยการใช้ผังงาน (Flowchart) ซึ่งสามารถอ่านและเข้าใจการทำงานได้ง่าย ช่วยให้เขียนโปรแกรม การตรวจสอบ และแก้ไขโปรแกรมสะดวกรวดเร็วขึ้น

                1. อัลกอริธึม (Algorithm)ในการเขียนโปรแกรมต่างๆ จำเป็นต้องอาศัยหลักอัลกอริทึ่ม (Algorithm) เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ผู้ใช้งานต้องการ และหากความต้องการของผู้ใช้งานมีมากเพียงใดความซับซ้อนของระบบก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น คอมพิวเตอร์ไม่สามารถคิดขั้นตอนวิธีการทำงานได้ เพียงแต่คอมพิวเตอร์สามารถคำนวณสูตรคณิตศาสตร์ตามที่ผู้พัฒนาออกแบบขั้นตอนต่างๆอย่างรวดเร็วเท่านั้น ดังนั้นกระบวนการต่างๆ ผู้พัฒนาโปรแกรมจึงเป็นผู้ที่ออกแบบขั้นตอนเหล่านี้ขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งาน

                 2. รหัสจำลอง (Pseudo Code) คือการเขียนอัลกอริทึมโดยใช้ประโยคภาษาอังกฤษที่สื่อความหมายง่าย ๆ สามารถอ่านแล้วเข้าใจได้โดยทันที แต่ก็สามารถใช้รูปแบบที่เป็นภาษาพูดด้วยภาษาไทยและภาษาอังกฤษก็ได้

                3. ผังงาน (Flowchart) เป็นเครื่องมือแสดงขั้นตอน หรือกระบวนการทำงาน โดยใช้สัญลักษณ์ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งในสัญลักษณ์จะมีข้อความสั้น ๆ อธิบายข้อมูลที่ต้องใช้ ผลลัพธ์ หรือคำสั่งประมวลผลของขั้นตอนนั้น ๆ และเชื่อมโยงขั้นตอนเหล่านั้นด้วยเส้นที่มีลูกศรชี้ทิศทางการทำงานตั้งแต่เริ่มต้นจนจบกระบวนการ
                เป็นขั้นตอนสำคัญ หลังจากได้ผ่านการออกแบบโปรแกรมแล้ว โดยการนำแนวคิดจาก อัลกอริธึ่ม หรือผังงานมาแปลงให้อยู่ในรูปคำสั่งคอมพิวเตอร์ โดยอาศัยความรู้และทักษะการเขียน โปรแกรมและใช้ภาษาคอมพิวเตอร์รวมทั้ง เครื่องมือช่วยในการเขียนโปรแกรมต่าง ๆ เพื่อให้เกิด ผลลัพธ์ถุกต้อง และทำงานตามที่เราต้องการ สรุปการเขียนโปรแกรม ต้องพิจารณาองค์ประกอบ ดังนี้

                • เลือกภาษาที่เหมาะสม
                • ลงมือเขียนโปรแกรม โดยการแปลงขั้นตอนการทำงาน (ประมวลผล) ที่ได้จากการ ออกแบบ ให้อยู่ในรูปของคำสั่งที่ถูกต้อง ตรงตามรูปแบบของภาษาที่เลือกนั้น
                การทดสอบและแก้ไขโปรแกรม เป็นขั้นตอนการตรวจสอบโปรแกรมที่เขียนได้ ว่าทำงาน ถูกต้องตรงตามความต้องการของผู้ใช้ หรือตรงตามลักษณะงานของโปรแกรมนั้นหรอไม่ ความผิดพลาด ( Errors) ที่สามารถเกิดขึ้นได้จากการเขียนโปรแกรม มีดังนี้
                • Syntax Error ความผิดพลาดที่เกิดจากการใช้คำสั่งผิดรูปแบบที่ภาษานั้นกำหนด เช่น การลืมประกาศตัวแปร การเขียนคำสั่งผิด เช่น คำสั่ง while( ) เป็น WHILE( )
                • Logic Error ความผิดพลาดที่เกิดจากการที่โปรแกรมทำงานผิดไปจากขั้นตอนที่ควร จะเป็น เช่น การตรวจสอบเงื่อนไขผิดไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ คำนวณค่าได้คำตอบไม่ถูกต้อง หรือ ทำงานผิดลำดับขั้นตอน เป็นต้น
                • System Design Error ความผิดพลาดที่เกิดจากการที่โปรแกรมทำงานได้ไม่ตรงตาม ความต้องการของลูกค้า
                การจัดทำเอกสารประกอบโปรแกรมหรือคู่มือการใช้งานโปรแกรม เป็นการทำคู่มือประกอบการใช้งานโปรแกรม สำหรับผู้ใช้งานหรือสำหรับใช้ในการอบรมให้กับผู้ใช้งานโปรแกรม รวมทั้งจัดทำเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบหรือการเขียน โปรแกรม ได้แก่
                • คู่มือสำหรับผู้ใช้โปรแกรม (User's Manual or User's Guide) คือเอกสารที่อธิบาย วิธีการใช้ระบบหรือโปรแกรม เรียกว่า User Manual ใช้สำหรับผู้ใช้งานโปรแกรม แนะนำวิธีการใช้ งานโปรแกรม แนะนำคุณสมบัติ และองค์ประกอบของโปรแกรมต่าง ๆ วิธีการติดตั้งโปรแกรม สามารถทำควบคู่ไปกับการเขียนโปรแกรม อาจทำเป็นคู่มือเอกสารที่อยู่ในรูปแบบโปรแกรม ออนไลน์ก็ได้ (Online Manual)
                • คู่มือสำหรับผู้เขียนโปรแกรม (Programmer's Manual or Programmer's Guide) เป็น คู่มือที่จัดทำขึ้น เพื่อให้ผู้พัฒนาโปรแกรม รวมทั้งเทคนิคพิเศษต่างๆ ของโปรแกรม เพื่อให้สะดวก ต่อการปรับปรุงแก้ไขโปรแกรมที่มีอยู่เดิม โดยทั่วไปจะเป็นเอกสารแสดงการวิเคราะห์และออกแบบ ระบบ เรียกว่า System Manual ใช้สำหรับผู้พัฒนาระบบหรือโปรแกรม เท่านั้น
                เมื่อนำโปรแกรมไปใช้งานจริง อาจจะเกิดปัญหาขึ้นได้ผู้พัฒนาโปรแกรมต้องติดตามตรวจสอบ และแก้ปัญหาให้กับผู้ใช้งาน ขณะใช้งานจริง เมื่อเกิดปัญหา โดยปัญหาที่เกิดขึ้นอาจจะเกิดจากตัวโปรแกรมเอง จากอุปกรณ์ต่างๆ หรือจากผู้ใช้งาน จึงจำเป็นต้องมีการบำรุงรักษาโปรแกรมให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา รวมทั้งอาจมีการแก้ไขหรือพัฒนาเพิ่มเติมโปรแกรม ในส่วนที่ผู้ใช้งานต้องการ หรือเพิ่มประประสิทธิภาพของโปรแกรมให้สูงขึ้น
   
ดัชนี [ 1.การวิเคราะห์ปัญหา] [ 2.การเขียนโปรแกรม ] [ 3.การออกแบบโปรแกรม] [ 4.การทดสอบโปรแกรม ] [ 5.การทำเอกสาร ] [ 6.การบำรุงรักษา ] [ กลับด้านบน ]
 

จัดทำโดย ครูวีรศักดิ์ จันทร์สุข
โรงเรียนคุรุประชาสรรค์ อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท
E-mail : weerasak_ch26@hotmail.com หรือ krurock.kuru@gmail.com