: หน้าแรก

    : แนะนำการใช้บทเรียนออนไลน์

    : คำอธิบายรายวิชา
    : แบบทดสอบก่อนเรียน
    1. หลักการเขียนโปรแกรม
    2. ขั้นตอนการเขียนโปรแกรม
        - จุดประสงค์การเรียนรู้
         แบบทดสอบก่อนเรียน
        2.1 ขั้นตอนการเขียนโปรแกรม
        2.2 อัลกอริทึม
        2.3 รหัสเทียม
        2.4 ผังงาน
        2.5 สัญลักษณ์ผังงาน
         แบบทดสอบท้ายบทเรียน
    3. โครงสร้างภาษาคอมพิวเตอร์
    4. กระบวนการเขียนโปรแกรม
    5. พอยน์เตอร์
    6. ฟังก์ชั่น
    7. การออกแบบโปรแกรมอย่างง่าย
    8. การโปรแกรมเพื่องานธุรกิจ
    : ข้อมูลผู้เรียน
    : แบบทดสอบหลังเรียน
    : แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม
    : ผู้จัดทำ
 
สวัสดีคุณ      รหัสประจำตัว     [ แก้ไขข้อมูล ] [ ออกจากระบบ ]  
               
   
   
  รหัสเทียม หรือ ซูโด้โค้ด ( Pseudo code ) เป็นคำสั่งที่จำลองความคิดที่เป็นลำดับขั้นตอน การทำงานของการ  
  เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยใช้สัญลักษณ์เป็น ประโยคภาษาอังกฤษ ซึ่งรหัสเทียม หรือ ซูโดโค้ดนี้ ไม่ใช่ภาษาโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์จึงไม่ สามารถนำไปประมวลผลได้ คือ ไม่สามารถสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่ง แต่เป็นการเขียนจำลองคำสั่งจริงแบบย่อๆ ตามอัลกอริทึมของโปรแกรมระบบ เพื่อนำไปพัฒนาเป็นการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ได้  
                  รหัสเทียม (Pseudocode) คือ การเขียนโปรแกรมในรูปแบบภาษาอังกฤษที่มีขั้นตอนและรูปแบบแน่นอนกะทัดรัด และมองดูคล้ายภาษาระดับสูงที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งไม่เจาะจงภาษาใดภาษาหนึ่ง เพื่อใช้ในการออกแบบโปรแกรมก่อนที่โปรแกรมเมอร์จะทำการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์จริง  
   
                  เป็นเครื่องมือในการกำหนดโครงร่างกระบวนการทำงานของการเขียนโปรแกรมแต่ละโปรแกรม
                เป็นต้นแบบในการทบทวน ปรับปรุงแก้ไข และพัฒนาโปรแกรมของโปรแกรมเมอร์ และนักวิเคราะห์ระบบ
                เป็นตัวกำหนดงานเขียนโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมเมอร์นำไปพัฒนาเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อสั่งให้ คอมพิวเตอร์ทำงานตามกระบวนการที่ได้จำลองกระบวนการจริงไว้ในซูโดโค้ด
 
   
                  ประโยคคำสั่ง (Statement) จะอยูในรูปแบบของภาษาอังกฤษอย่างง่าย
                ในหนึ่งบรรทัด ให้เขียนประโยคคำสั่งเพียงคำสั่งเดียว
                ควรใช้ย่อหน้า เพื่อแยกคำเฉพาะ (Keywords) ได้ชัดเจน รวมถึงจัดโครงสร้างการควบคุมให้เป็นสัดส่วน ซึ่งช่วยให้อ่านโค้ดได้ง่าย
                แต่ละประโยคคำสั่งให้เขียนลำดับจากบนลงลาง โดยมีทางเข้าเพียงทางเดียว และมีทางออกทางเดียวเท่านั้น
                กลุ่มของประโยคคำสั่งต่างๆ อาจจัดรวมกลุ่มเข้าด้วยกันในรูปแบบของโมดูล แต่ต้องมีการกำหนดชื่่อของโมดูลด้วย เพื่อให้สามารถเรียกใช้งานโมดูลนั้นได้
 
ตัวอย่างคำสั่งรหัสเทียม หรือ ซูโด้โค้ด  
 
ในการคำนวณหาพื้นที่สามเหลี่ยม เราอาจเขียนซูโด้โค้ดได้ดังต่อไปนี้  
   
             เริ่มต้น
                  1. รับค่าความยาวของด้านที่เป็นฐานมาเก็บไว้ในตัวแปร X
                  2. รับค่าความยาวของส่วนสูงมาเก็บในตัวแปร Y
                  3. คำนวณพื้นที่โดย Area = (X*Y)/2
                  4. แสดงค่าพื้นที่ Area
           จบการทำงาน
 
หรืออาจเขียนเป็นภาษาอังกฤษได้เป็น
 
           
START
                  1. READ X
                  2. READ Y
                  3. Compute Area = (X*Y)/2
                  4. Write Area
           STOP
 
     
ดัชนี [ รหัสเทียม] [ ประโยชน์รหัสเทียม ] [ วิธีการเขียนรหัสเทียม ][ ตัวอย่างคำสั่ง ] [ ตัวอย่างการเขียนรหัสเทียม ] [ กลับด้านบน ]
 

จัดทำโดย ครูวีรศักดิ์ จันทร์สุข
โรงเรียนคุรุประชาสรรค์ อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท
E-mail : weerasak_ch26@hotmail.com หรือ krurock.kuru@gmail.com