: หน้าแรก

    : แนะนำการใช้บทเรียนออนไลน์

    : คำอธิบายรายวิชา
    : แบบทดสอบก่อนเรียน
    1. หลักการเขียนโปรแกรม
    2. ขั้นตอนการเขียนโปรแกรม
        - จุดประสงค์การเรียนรู้
         แบบทดสอบก่อนเรียน
        2.1 ขั้นตอนการเขียนโปรแกรม
        2.2 อัลกอริทึม
        2.3 รหัสเทียม
        2.4 ผังงาน
        2.5 สัญลักษณ์ผังงาน
         แบบทดสอบท้ายบทเรียน
    3. โครงสร้างภาษาคอมพิวเตอร์
    4. กระบวนการเขียนโปรแกรม
    5. พอยน์เตอร์
    6. ฟังก์ชั่น
    7. การออกแบบโปรแกรมอย่างง่าย
    8. การโปรแกรมเพื่องานธุรกิจ
    : ข้อมูลผู้เรียน
    : แบบทดสอบหลังเรียน
    : แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม
    : ผู้จัดทำ
 
สวัสดีคุณ      รหัสประจำตัว     [ แก้ไขข้อมูล ] [ ออกจากระบบ ]  
       
   
   
              ผังงาน ( Flowchart ) เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ใช้อธิบายลำดับขั้นตอนการทำงานในรูปแบบแผนภาพ โดยใช้สัญลักษณ์รูปร่างต่าง ๆ ที่มีความหมายแทนคำสั่ง และใช้ข้อความในสัญลักษณ์แทนข้อมูลตัวแปร ตัวดำเนินการทางการคำนวณ และการเปรียบเทียบ นอกจากนั้นผังงานยังใช้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างขั้นตอนการทำงานต่าง ๆ โดยสามารถแบ่งลักษณะการทำงานและความสัมพันธ์เป็นรูปแบบต่างๆ ได้แก่ การทำงานแบบมีลาดับ การทำงานแบบมีเงื่อนไข และการทำงานแบบทำซ้าภายใต้เงื่อนไขต่าง ๆ หลังจากนั้นจึงนำผังงาน Flowchart ที่ออกแบบไว้นำไปเขียนเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ ดังนั้นผังงานจึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้เขียนโปรแกรมและผู้ใช้ สามารถ มองเห็นภาพการทำงานของโปรแกรมที่กำลังจะสร้างได้อย่างเป็นระบบและง่ายขึ้น
              1. ช่วยลำดับขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม และสามารถนำไปเขียนโปรแกรมได้โดยไม่สับสน
              2. ช่วยในการตรวจสอบ และแก้ไขโปรแกรมได้ง่าย เมื่อเกิดข้อผิดพลาด
              3. ช่วยให้การดัดแปลง แก้ไข ทำได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
              4. ช่วยให้ผู้อื่นสามารถศึกษาการทำงานของโปรแกรมได้อย่างง่าย และรวดเร็วมากขึ้น
สามารถเรียนรู้และเข้าใจได้ง่าย เมื่อผังงานไม่ขึ้นอยู่กับภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่งโดยเฉพาะ
              5. ผังงานเป็นการสื่อความหมายด้วยภาพ ทำให้ง่ายและสะดวกในการพิจารณาถึงลำดับขั้นตอนในการทำงาน ต่างกับการบรรยายเป็นตัวอักษร เพราะอาจสื่อความหมายผิดไปได้
              6. ในโปรแกรมที่ไม่ซับซ้อน สามารถใช้ผังงานตรวจสอบความถูกต้องของลำดับขั้นตอนได้ง่ายถ้ามีข้อผิดพลาด สามารถแก้ไขได้สะดวกและรวดเร็ว
              7. การเขียนโปรแกรมโดยพิจารณาจากผังงาน สามารถทำงานง่ายและรวดเร็ว
              8. การบำรุงรักษาโปรแกรม เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขโปรแกรม สามารถดูผังงานเพื่อแก้ไขคำสั่งในโปรแกรมก่อนแก้ไขได้
   
              ผู้เขียนโปรแกรมบางคนไม่นิยมการเขียนผังงานระบบก่อนที่จะเขียนโปรแกรม เพราะเสียเวลาในการเขียนเป็นรูปภาพหรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีเหตุผลอื่น ๆ ได้แก่

              1. ผังงานระบบเป็นการสื่อความหมายระหว่างบุคคลต่อบุคคลมากกว่าที่จะสื่อความหมายระหว่างบุคคลกับเครื่อง เพราะผังงานระบบไม่ขึ้นอยู่กับภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง ทำให้เครื่องไม่สามารถรับและเข้าใจว่าในผังงานระบบนั้นต้องการให้ทำอะไร

              2. บางครั้งเมื่อพิจารณาจากผังงานระบบ จะไม่สามารถทราบได้ว่า ขั้นตอนการทำงานใดสำคัญกว่ากัน เพราะทุก ๆ ขั้นตอนจะใช้รูปภาพหรือสัญลักษณ์ในลักษณะเดียวกัน

              3. การเขียนผังงานระบบเป็นการสิ้นเปลือง เพราะจะต้องใช้กระดาษและอุปกรณ์อื่น ๆ ประกอบการเขียนภาพ บางครั้งการเขียนผังงานระบบอาจจะต้องใช้กระดาษมากกว่า 1 แผ่นทั้ง ๆ ที่การอธิบายงานเดียวกันจะใช้เนื้อที่เพียง 3-4 บรรทัดเท่านั้น

              4. ผังงานระบบจะมีขนาดใหญ่ ถ้าโปรแกรมที่พัฒนาเป็นงานใหญ่ ทำให้ผังงานระบบแลดูเทอะทะไม่คล่องตัว และถ้ามีการปรับเปลี่ยนผังงานระบบจะทำได้ยาก บางครั้งอาจจะต้องเขียนผังงานขั้นใหม่

              5. ในผังงานระบบจะบอกขั้นตอนการปฏิบัติงานว่าเป็นลำดับอย่างไร ปฏิบัติงานอะไรแต่จะไม่ระบุให้ทราบว่าทำไมจึงต้องเป็นลำดับและต้องปฏิบัติงานอย่างนั้น

              6. ในภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันในปัจจุบัน เช่น ภาษาซี ผังงานระบบไม่สามารถแทนลักษณะคำสั่งในภาษาได้ชัดเจน ตรงไปตรงมา

              1. ทุกผังงานต้องมีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดเพียงอย่างละหนึ่งแห่งเท่านั้น
              2. ทุกสัญลักษณ์ของผังงานต้องมีลูกศรชี้ทิศทางเข้า และลูกศรชี้ทิศทางออกอย่างละหนึ่งลูกศร ยกเว้นสัญลักษณ์จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด การตัดสินใจ และ จุดต่อ
              3. สัญลักษณ์จุดเริ่มต้นมีเฉพาะลูกศรชี้ทิศทางออก
              4. สัญลักษณ์จุดสิ้นสุดมีเฉพาะลูกศรชี้ทิศทางเข้า
              5. สัญลักษณ์การตัดสินใจมีลูกศรชี้ทิศทางเข้า 1 ทิศทาง มีลูกศรชี้ทิศทางออก 2 ทิศทางหรือมากกว่า
              6. ทิศทางของลำดับขั้นตอนการทำงาน นิยมเขียนจากบนลงล่างหรือจากซ้ายไปขวา
              7. เส้นของลูกศรที่ใช้บอกทิศทางของลำดับขั้นตอนวิธีการทำงาน ไม่ควรเขียนตัดกันหรือทับกัน
              8. ไม่ควรเขียนเส้นของลูกศรเพื่อทำการเชื่อมโยงลำดับขั้นตอนที่อยู่ห่างกันมาก หากจำเป็นควรใช้สัญลักษณ์จุดต่อแทน
              9. การเขียนผังงานส่วนของการกำหนดค่า หรือการคำนวณค่า นิยมใช้เครื่อง หมายลูกศร ( ) แทนการใช้เครื่องหมายเท่ากับ แต่ใช้เท่ากับก็ไม่ผิด
ดัชนี [ การเขียนผังงาน] [ ประโยชน์ของผังงาน ] [ ข้อจำกัดของผังงาน ] [ ลักษณะผังงานที่ดี ] [ กลับด้านบน ]
 

จัดทำโดย ครูวีรศักดิ์ จันทร์สุข
โรงเรียนคุรุประชาสรรค์ อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท
E-mail : weerasak_ch26@hotmail.com หรือ krurock.kuru@gmail.com