: หน้าแรก

    : แนะนำการใช้บทเรียนออนไลน์

    : คำอธิบายรายวิชา
    : แบบทดสอบก่อนเรียน
    1. ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่น
    2. ระบบเทคโนโลยี
    3. นวัตกรรมและการต่อยอด
    4.เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
         จุดประสงค์การเรียนรู้
         แบบทดสอบก่อนเรียน
        4.1 ผลกระทบของเทคโนโลยี
        4.2 การเลือกใช้สิ่งของเครื่องใช้
           - สัญลักษณ์รีไซเคิล
               - ฉลากเขียว
               - เครื่องหมาย มอก.
        4.3 เทคโนโลยีสะอาด
        4.4 พลังงานทดแทน
        แบบฝึกหัดท้ายบท
        แบบทดสอบท้ายบทเรียน
    5. เทคโนโลยีสมองกลอัจฉริยะ
    : ข้อมูลผู้เรียน
    : ผลการทดสอบก่อน-หลังเรียน
    : แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม
    : ผู้จัดทำ
 
สวัสดีคุณ      รหัสประจำตัว     [ แก้ไขข้อมูล ] [ ออกจากระบบ ]  
 
4.2 การเลือกใช้สิ่งของเครื่องใช้
 
             รีไซเคิล คือ การนำวัสดุเหลือใช้ หรือขยะไปเข้ากระ บวนการแปรสภาพด้วยการหลอม เพื่อทำให้กลายเป็นวัสดุใหม่ จะได้นำกลับมาใช้อีกครั้ง ต่างจากการรียูส (Reuse) ตรงที่การรีไซเคิลต้องนำของเหลือใช้ที่กำลังจะเป็นขยะไปผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แต่การรียูสสามารถนำของเหลือใช้เหล่านั้นกลับมาใช้ได้เลย โดยที่ไม่ต้องผ่านกระบวนการใด ๆ

             ซึ่งโดยมากแล้วบนบรรจุภัณฑ์ หรือฉลากผลิตภัณฑ์จะมีสัญลักษณ์บอกอยู่แล้วว่าบรรจุภัณฑ์ที่คุณถืออยู่เป็นของที่รีไซเคิลได้หรือไม่ ถ้ารีไซเคิลได้จะเป็นขยะรีไซเคิลประเภทไหน เพื่อให้เราจำแนกประเภทขยะรีไซเคิลได้อย่างถูกต้องและสะดวกขึ้น

สัญลักษณ์รีไซเคิลพลาสติก

             การรีไซเคิลพลาสติกสามารถแบ่งได้เป็น 7 ประเภท ตามลักษณะและคุณสมบัติของการใช้งาน ซึ่งสัญลักษณ์การแยกประเภทของพลาสติก จะบอกเป็นตัวเลขเล็ก ๆ ในวงกลมสัญลักษณ์รีไซเคิลดังนี้

 
             เบอร์ 1 คือ พลาสติกประเภทโพลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (PET) สามารถนำมารีไซเคิลขวดน้ำพลาสติกชนิดอ่อน ประเภทใช้ได้ครั้งเดียว หรือขวดซอฟต์ดริ้งค์ทั้งหลาย              เบอร์ 2 หมายถึง โพลิเอทิลินชนิดความหนาแน่นสูง (HDPE) ส่วนมากจะนำไปรีไซเคิลเป็นถุงพลาสติกทั่วไป และกระป๋องโยเกิร์ต
             เบอร์ 3 พลาสติกประเภทโพลิไวนิลคลอไรด์ (PVC) สามารถนำกลับมารีไซเคิลเป็น บรรจุภัณฑ์สินค้าอาหาร ของเล่นพลาสติก พลาสติกห่อหุ้มอาหาร และท่อพลาสติก              เบอร์ 4 คือ พลาสติกประเภทโพลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDPE) นิยมนำกลับมารีไซเคิลเป็นถุงพลาสติกชนิดบาง ไม่ทนความร้อน หรือถุงดำ กล่องบรรจุภัณฑ์ เช่น กล่องสบู่ ถังขยะ เป็นต้น
             เบอร์ 5 พลาสติกประเภทโพลิโพรพิลีน (PP) นำกลับมารีไซเคิลเป็น ถุงร้อนใส่อาหาร หรือกล่องบรรจุอาหารสำหรับอุ่นในไมโครเวฟ และแก้วพลาสติก
             เบอร์ 6 พลาสติกประเภทโพลิสไตรีน (PS) สามารถนำมาหลอมเป็นโฟม กล่อง ถ้วย และจาน นอกจากนี้ยังรีไซเคิลเป็นแผงไข่ไก่ และกล่องวีซีดีได้อีกด้วย

             เบอร์ 7 พลาสติกชนิดอื่น ๆ ที่อาจจะนำพลาสติกหลายชนิดมาผสมกัน แต่ไม่ใช่พลาสติก 6 ชนิดก่อนหน้านี้ อาจจะเป็นพลาสติกประเภทที่มีส่วนผสมของสาร BPA โพลีคาร์บอเนต หรือพลาสติกชีวฐาน (bio-based plastics) มักจะนำกลับมารีไซเคิลเป็นขวดน้ำ กล่องและถุงบรรจุอาหาร กระสอบปุ๋ย และถุงขยะ เป็นต้น
สัญลักษณ์รีไซเคิลกระดาษ

           กระดาษส่วนมากรวมทั้งกระดาษแข็ง สามารถนำกลับมารีไซเคิล และรียูสได้ แต่ก็มีกระดาษบางชนิดที่เป็นข้อยกเว้น เช่น กระดาษทิชชู หรือกระดาษเช็ดปาก เป็นต้น ซึ่งหากอยากจะรู้ว่ากระดาษที่อยู่ในมือของเรา สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้หรือไม่ก็ต้องดูตามสัญลักษ์ต่อไปนี้


สามารถนำกลับมารีไซเคิลเป็นกระดาษลูกฟูกได้

กระดาษผสม ส่วนมากจะนำมารีไซเคิลเป็นกระดาษสำหรับแมกกาซีน หนังสือพิมพ์ หรือซองจดหมาย เป็นต้น

สัญลักษณ์รีไซเคิลที่บอกว่าคุณสามารถนำวัสดุกลับมารีไซเคิลเป็นกระดาษจดหมาย หรือกระดาษเอกสารต่าง ๆ ได้
สัญลักษณ์รีไซเคิลแก้ว

           วัสดุประเภทแก้วสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้หลายชนิด แต่ก็มีแก้วบางกลุ่มที่ต้องตรวจสอบอีกครั้งว่าสามารถนำกลับมาได้หรือเปล่า โดยสัญลักษณ์ของการรีไซเคิลแก้วก็จะแบ่งแยกตามนี้


แก้วผสม ที่เกิดจากวัสดุต่าง ๆ

แก้วใส ไม่มีสี

แก้วสีเขียว
สัญลักษณ์รีไซเคิลโลหะ

           กระป๋องน้ำอัดลมก็ถือว่าเป็นโลหะชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถรีไซเคิลได้แน่ ๆ แต่โลหะชนิดอื่น ๆ ก็ต้องดูตามสัญลักษณ์ต่อไปนี้


เหล็ก

อะลูมิเนียม



อะลูมิเนียม
สัญลักษณ์วัตถุที่มาจากการรีไซเคิล

           ลูกศร 3 อันหมุนวนเชื่อมโยงกันไม่ได้หมายความว่าจะนำกลับมารีไซเคิลซ้ำอีกครั้งได้อีก แต่เป็นสัญลักษณ์ที่บอกให้รู้ว่าของที่คุณถืออยู่ในมือผลิตมาจากวัสดุรีไซเคิล ซึ่งก็ไม่ควรนำของชิ้นนั้นกลับมารีไซเคิลซ้ำอีกครั้ง เพราะกระบวนการรีไซเคิลก็มีจำนวนครั้งที่จำกัดอยู่เหมือนกัน ด้วยเหตุผลที่ว่า หากนำวัสดุเหล่านั้นมาใช้ซ้ำกันบ่อย ๆ ก็อาจจะก่อให้เกิดมลพิษกับสิ่งแวดล้อมรวมทั้งสิ่งมีชีวิตบนโลกทั้งหมดได้นั่นเอง
สัญลักษณ์ขยะย่อยสลายได้

             สัญลักษณ์ที่เห็นนี้เป็นสัญลักษณ์ที่จะพบได้บนผลิตภัณฑ์ที่ทำ มาจากวัสดุที่ย่อยสลายได้ โดยได้รับการรับรองจากสถาบัน BPI (Biodegradable Products Institute) ซึ่งก็หมายความว่า แม้ว่าวัตถุประเภทนี้จะไม่สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ แต่ก็ค่อนข้างจะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
 

จัดทำโดย ครูวีรศักดิ์ จันทร์สุข
โรงเรียนคุรุประชาสรรค์ อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท
E-mail : weerasak_ch26@hotmail.com หรือ krurock.kuru@gmail.com