: หน้าแรก

    : แนะนำการใช้บทเรียนออนไลน์

    : คำอธิบายรายวิชา
    : แบบทดสอบก่อนเรียน
    1. ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่น
    2. ระบบเทคโนโลยี
    3. นวัตกรรมและการต่อยอด
    4.เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
         จุดประสงค์การเรียนรู้
         แบบทดสอบก่อนเรียน
        4.1 ผลกระทบของเทคโนโลยี
        4.2 การเลือกใช้สิ่งของเครื่องใช้
              - สัญลักษณ์รีไซเคิล
           - ฉลากเขียว
               - เครื่องหมาย มอก.
              - ฉลากประหยัดไฟ เบอร์ 5
              - เครื่องหมายอื่นๆ
        4.3 เทคโนโลยีสะอาด
        4.4 พลังงานทดแทน
        แบบฝึกหัดท้ายบท
        แบบทดสอบท้ายบทเรียน
    5. เทคโนโลยีสมองกลอัจฉริยะ
    : ข้อมูลผู้เรียน
    : ผลการทดสอบก่อน-หลังเรียน
    : แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม
    : ผู้จัดทำ
 
สวัสดีคุณ      รหัสประจำตัว     [ แก้ไขข้อมูล ] [ ออกจากระบบ ]  
               สัญลักษณ์สีเขียว มีรูปหน้าเด็กยิ้ม ต้นไม้และนกที่อยู่ร่วมกันในโลกที่เห็นนี้เป็นสัญลักษณ์ของ “ฉลากเขียว” ของประเทศไทย หลายท่านอาจเคยเห็นสัญลักษณ์นี้ติดอยู่บนสินค้าบางชนิดบ้างแล้ว เช่น บนห่อกระดาษ A4 ตู้เย็น เป็นต้น แล้วคุณรู้หรือไม่ว่าฉลากเขียวนี้คืออะไร สินค้าที่มีสัญลักษณ์ฉลากเขียวนี้มีดีอย่างไร วันนี้เรามาทำความรู้จักกันว่าฉลากนี้บอกอะไรกับเรา  
ฉลากเขียว (Green Label)
             ฉลากเขียว (Green Label) คือ ฉลากสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย ซึ่งเป็นฉลากประเภท 1 ซึ่งมีองค์กรกลางเป็นผู้ให้
การรับรอง การติดฉลากบนสินค้าเพื่อต้องการสื่อสารให้ผู้บริโภครู้ว่า สินค้าที่ได้รับการรับรองด้วยฉลากนี้เป็นสินค้าที่มี
องค์ประกอบกระบวนการผลิต การใช้ ตลอดจนถึงการทิ้งทำลายที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าสินค้าประเภทเดียวกันที่
ไม่ได้รับการ รับรอง ผู้บริโภค หรือผู้ใช้ สินค้าที่ต้องการสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสามารถเลือกซื้อสินค้าเหล่านี้ได้จากการสังเกต ”ฉลากเขียว”ที่ติดแสดงอยู่บนฉลากของสินค้านั้น
โครงการฉลากเขียวของประเทศไทย

             ฉลากเขียวเริ่มใช้เป็นครั้งแรกในประเทศเยอรมัน ตั้งแต่ปี พ. ศ. 2520 และได้รับ การตอบสนองจากผู้บริโภคชาวเยอรมัน
เป็นอย่างดี ปัจจุบันประเทศต่าง ๆ มากกว่า 20 ประเทศได้มีการจัดทำโครงการฉลากเขียว เช่น แคนนาดา, สหรัฐอเมริกา, ฝรั่งเศส, ญี่ปุ่น, สิงคโปร์ ฯลฯ สำหรับประเทศไทยคณะกรรมการนักธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมไทย (Thailand Business Council Sustainable Development, TBCSD) ได้ริเริ่ม เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.2536 และได้รับความเห็นชอบและความร่วมมือจากส่วนราชการ องค์กรกลาง และเอกชน เช่น กระทรวงอุตสหกรรมกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและ สิ่งแวดล้อม สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสหกรรม

ผลิตภัณฑ์ฉลากเขียวดีอย่างไร

             ปัจจุบันคณะกรรมการโครงการฉลากเขียวได้กำหนดผลิตภัณฑ์ฉลากเขียวหลายผลิตภัณฑ์โดยได้ผ่านการประเมินและ
ตรวจสอบ ตามข้อกำหนดฉลากเขียวที่ประกอบ ด้วยข้อกำหนดทั่วไป

             คุณภาพของผลิตภัณฑ์ ต้องผ่านการรับรองคุณภาพมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับและเป็นไป ตามกฎหมายและข้อบังคับของ
ทางราชการ รวมทั้งข้อกำหนดพิเศษ ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ครอบคลุมถึงการออกแบบการผลิตและการใช้งานกระทั่ง การทิ้ง หลังใช้งานที่เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าผลิตภัณฑ์ทั่วไป ประหยัดพลังงานโดยมีการใช้ทรัพยากร อย่างคุ้มค่า เพื่อลดมลพิษ ต่อสิ่งแวดล้อม

“ผลิตภัณฑ์ที่มีเครื่องหมายฉลากเขียว จึงดีทั้งด้านคุณภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม”

“ ดูฉลากเขียว ได้สินค้าดี เพื่อโลกสีเขียว ”

ประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ฉลากเขียว

             การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ฉลากเขียว เป็นแนวทางหนึ่งที่ผู้บริโภคสามารถช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมของโลกให้ดีขึ้น เพราะ
ข้อกำหนด ของผลิตภัณฑ์ ฉลากเขียวกำหนดโดยพิจารณาตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ว่าสามารถจะปรับลดผลกระทบต่อ
สิ่งแวดล้อมได้อย่างไรบ้าง ข้อดีอีกประการหนึ่งสำหรับ ผลิตภัณฑ์ฉลากเขียวของประเทศไทย คือผลิตภัณฑ์ที่ได้รับฉลากเขียว
จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ดีสูงหรือกว่า ผลิตภัณฑ์ทั่วไป และมีความปลอดภัยจากสี และสารเคมีที่เป็นอันตราย เนื่องจากมี
การ อ้างอิง ไปยังมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ซึ่งนับ เป็นกำไรของผู้บริโภค นั่นคือนอกจากจะช่วยรักษา สิ่งแวดล้อมแล้ว
ผู้บริโภค หรือผู้ใช้ผลิตภัณฑ์จะได้รับผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดีและ ไม่ต้อง เสี่ยง ที่จะได้รับ สารอันตราย จากการใช้ผลิตภัณฑ์ด้วย

 

จัดทำโดย ครูวีรศักดิ์ จันทร์สุข
โรงเรียนคุรุประชาสรรค์ อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท
E-mail : weerasak_ch26@hotmail.com หรือ krurock.kuru@gmail.com