: หน้าแรก

    : แนะนำการใช้บทเรียนออนไลน์

    : คำอธิบายรายวิชา
    : แบบทดสอบก่อนเรียน
    1. ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่น
    2. ระบบเทคโนโลยี
    3. นวัตกรรมและการต่อยอด
    4.เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
         จุดประสงค์การเรียนรู้
         แบบทดสอบก่อนเรียน
         4.1 ผลกระทบของเทคโนโลยี
         4.2 การเลือกใช้สิ่งของเครื่องใช้
     4.3 เทคโนโลยีสะอาด
        4.4 พลังงานทดแทน
        แบบฝึกหัดท้ายบท
        แบบทดสอบท้ายบทเรียน
    5. เทคโนโลยีสมองกลอัจฉริยะ
    : ข้อมูลผู้เรียน
    : ผลการทดสอบก่อน-หลังเรียน
    : แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม
    : ผู้จัดทำ
 
สวัสดีคุณ      รหัสประจำตัว     [ แก้ไขข้อมูล ] [ ออกจากระบบ ]  
     
             เทคโนโลยีสะอาด (Clean Technology) หมายถึง เทคนิคการปรับปรุงกระบวนการผลิต โดยเน้นที่ การลดของเสียและลดต้นทุนการผลิต ลดการใช้พลังงาน วัตถุดิบ ซึ่งจะส่งผลให้การใช้ทรัพยากรและพลังงาน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ก่อมลภาวะ นอกจากนี้ยังรวมถึงการใช้ซ้ำ
และการนำกลับมาใช้ใหม่ จึงเป็นการลดมลพิษที่แหล่งกำเนิด ช่วยรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ลดต้นทุนการผลิต
และลดค่าใช้จ่ายในการบำบัดหรือกำจัดของเสียหรือขยะ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุด
เป้าหมายของเทคโนโลยีสะอาด
             เทคโนโลยีสะอาดเน้นแนวคิดในการลดมลพิษ การใช้ซ้ำ หรือการนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งมีเป้าหมาย ดังนี้
                          1. ลดมลพิษที่แหล่งกำเนิด
                          2. การออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีอายุการใช้งานยาวนาน ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
                          3. เปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตให้มีของเสียน้อยที่สุด
                          4. เปลี่ยนแปลงวัตถุดิบ โดยใช้วัตถุดิบที่สะอาด ไม่ใช้วัตถุดิบที่มีสารพิษ
                          5. ปรับปรุงคุณภาพของอุปกรณ์ หรือเครื่องมือ รวมทั้งเทคโนโลยีในการผลิตใหม่ๆ
                          6. ปรับปรุงกระบวนการดำเนินงาน มีกระบวนการบำรุงรักษา มีขั้นตอนการผลิตที่ชัดเจน มีการแยกวัตถุดิบอย่างชัดเจน
                          7. การนำกลับมาใช้ใหม่/การใช้ซ้ำ หรือการใช้ผลิตภัณฑ์หมุนเวียนเพื่อนำทรัพยากรกลับมาใช้อีก
วิธีการเทคโนโลยีสะอาด
             วิธีการเทคโนโลยีสะอาด แบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ วิธีลดมลพิษที่แหล่งกำเนิด และวิธีนำกลับมาใช้ใหม่หรือการใช้ซ้ำ การลดมลพิษที่แหล่งกำเนิด แบ่งออกเป็น 2 วิธีดังนี้
             1. การปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต (Process Change)
             • ปรับเปลี่ยนวัตถุดิบ เป็นการเลือกใช้วัตถุดิบที่สะอาด มีคุณภาพ ไม่เป็นอันตราย และไม่มี สิ่งสกปรกปนเปื้อนมากับวัตถุดิบ เพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งปนเปื้อนเข้าสู่กระบวนการผลิต นอกจากนี้ควรเลือกใช้วัตถุดิบที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่
             • ปรับปรุงเทคโนโลยี เป็นการเพิ่มศักยภาพการผลิตหรือใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
โดยปรับปรุงอุปกรณ์เครื่องจักร หรือการนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ เพื่อลดปริมาณของเสียจากการผลิตให้เหลือน้อยที่สุด หรือลดเวลาในการผลิต เคลื่อนย้ายวัตถุดิบ เช่น การออกแบบและจัดวางผังโรงงานใหม่เพื่อลดระยะเวลาในการเคลื่อนย้ายวัสดุให้น้อยลง เป็นต้น
             • ปรับปรุงกระบวนการดำเนินงาน เป็นการปรับปรุงการผลิตโดยใช้เทคนิคต่างๆ ในการลดหรือรวมขั้นตอนการผลิต เพื่อเพิ่มศักยภาพของกระบวนการผลิต และเพื่อลดต้นทุนการผลิต เช่น การควบคุม รายการวัตถุดิบ การวางแผนการผลิต เป็นต้น
             2. การปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ (Product Reformulation)
             ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นควรให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด หรือให้มีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น ตลอดจนลดการใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายที่มีผลในการผลิต การใช้งาน และการทำลายหลังจากใช้งาน เช่น การ ปรับเปลี่ยนสูตรของผลิตภัณฑ์ ยกเลิกการใช้ชิ้นส่วนที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เป็นต้น
การนำกลับมาใช้ใหม่ แบ่งออกได้เป็น 2 แนวทาง คือ
             1. การใช้ผลิตภัณฑ์หมุนเวียน จะหมายถึง การนำผลิตภัณฑ์เก่ากลับมาใช้ใหม่ และการใช้ซ้ำ
             การนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) คือ กระบวนการแปรรูปของใช้แล้วนำกลับมาใช้ใหม่ เมื่อนำกลับมาใช้
ใหม่อาจจะใช้ได้เหมือนเดิมหรือไม่เหมือนเดิมก็ได้ เช่น การออกแบบผลิตภัณฑ์โดยใช้วัตถุดิบ พลาสติก หรือ
กระดาษที่ง่ายต่อการนำกลับมาใช้ใหม่ เป็นต้น
             ส่วนการใช้ซ้ำ (Reuse) เป็นการนำชิ้นส่วน หรือผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการใช้งานแล้วนำกลับมาใช้ใหม่ โดย
เป็นส่วนประกอบหนึ่งของผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น การนำชิ้นส่วนของผลิตภัณฑ์ที่เลิกผลิตแล้วมาใช้ในการผลิต
รุ่นต่อไปได้ เป็นต้น ซึ่งการแปรรูปของใช้แล้วนำกลับมาใช้ใหม่มีกระบวนการอยู่ 4 ขั้นตอน ได้แก่ (อ้างอิงจาก
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม)
             1. การเก็บรวบรวม
             2. การแยกประเภทวัสดุแต่ละชนิดออกจากกัน
             3. การผลิตหรือปรับปรุง
             4. การนำมาใช้ประโยชน์
             ในขั้นตอนการผลิตหรือปรับปรุงนั้น วัสดุที่ต่างชนิดกันจะมีกรรมวิธีในการผลิตแตกต่างกัน เช่น ขวดแก้ว ที่ต่างสี พลาสติกที่ต่างชนิด หรือกระดาษที่เนื้อกระดาษและสีที่แตกต่างกันต้องแยกประเภทออกจากกัน เมื่อผ่านขั้นตอนการผลิตแล้ว ของเสียที่ใช้แล้วเหล่านี้จะอยู่ในรูปของผลิตภัณฑ์ใหม่ จากนั้นจึงเข้าสู่ขั้น ตอนในการนำมาใช้ประโยชน์ ผลิตภัณฑ์รีไซเคิลจึงสามารถสังเกตได้จากเครื่องหมายที่ประทับไว้บนผลิตภัณฑ์ที่ ผลิตทุกครั้ง
             การนำกลับมาใช้ใหม่ จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยเพิ่มคุณภาพให้กับชีวิต เพิ่มคุณค่าให้กับสิ่งแวดล้อมและ ช่วยถนอมรักษาทรัพยากรธรรมชาติของโลกไว้ได้ดีที่สุดในหนทางหนึ่ง ทำให้โลกมีจำนวนขยะลดลง และช่วยลด ปริมาณการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้เป็นวัตถุดินในโรงงานอุตสาหกรรมให้น้อยลง ลดการถลุงแร่บริสุทธิ์ และลดปริมาณการตัดไม้ทำลายป่าลงด้วย การหมุนเวียนนำมาผลิตใหม่ยังเป็นการลดการใช้พลังงานจากใต้พิภพ ลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่อากาศและลดภาวะการเกิดฝนกรด สำหรับประเทศไทยนั้น จากการศึกษาของกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมในปี พ.ศ. 2553 พบว่า ศักยภาพของวัสดุเหลือใช้ที่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้จากมูลฝอยที่เก็บขนได้ในกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศมีประมาณ 15 ล้านตันต่อปีของปริมาณมูลฝอยที่เก็บได้แต่มีเพียงร้อยละ 25 หรือประมาณ 3.75 ล้านตันต่อปีเท่านั้น ที่มีการนำกลับมาใช้ประโยชน์
ตัวอย่างของใช้แล้วที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ ได้แก่
      
             2. การใช้เทคโนโลยีหมุนเวียน
             เป็นการนำเอาของเสียไปผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อนำกลับมาใช้ ได้อีก เช่น การนำน้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิต ตลอดจนวัสดุเหลือใช้ หรือของเสียจากการผลิต กลับมาใช้ใหม่ เป็นต้น
 

จัดทำโดย ครูวีรศักดิ์ จันทร์สุข
โรงเรียนคุรุประชาสรรค์ อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท
E-mail : weerasak_ch26@hotmail.com หรือ krurock.kuru@gmail.com