: หน้าแรก

    : แนะนำการใช้บทเรียนออนไลน์

    : คำอธิบายรายวิชา
    : แบบทดสอบก่อนเรียน
    1. ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่น
         จุดประสงค์การเรียนรู้
         แบบทดสอบก่อนเรียน
        1.1 ธรรมชาติของเทคโนโลยี
        1.2 ความสำคัญของเทคโนโลยี
         1.3 ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่น
             - เทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ
                - ตัวอย่างเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่น
        แบบฝึกหัดที่ 1
        แบบทดสอบท้ายบทเรียน
    2. การวิเคราะห์ระบบเทคโนโลยี
    3. นวัตกรรมและการต่อยอด
    4.โครงงานเทคโนโลยีกับการแก้ปัญหา
    5. เทคโนโลยีสมองกลอัจฉริยะ
    : ข้อมูลผู้เรียน
    : ผลการทดสอบก่อน-หลังเรียน
    : แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม
    : ผู้จัดทำ
 
สวัสดีคุณ      รหัสประจำตัว     [ แก้ไขข้อมูล ] [ ออกจากระบบ ]  
 
 
   
5. ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับการศึกษา
        ในปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในวงการศึกษาอย่างกว้างขวาง เช่น การใช้สื่ออิเล็กทอนิกส์ การใช้เครื่องมืออุปกรณ์วิทยาศาสตร์ หรือเครื่องมือที่ทันสมัย มาประยุกต์ใช้ในการศึกษา เป็นต้น ตลอดจนนำ เทคโนโลยีมาพัฒนาแหล่งเรียนรู้ เช่น อินเทอร์เน็ต ศูนย์วิทยาศาสตร์ เป็นต้น ซึ่งล้วนมีความสำคัญต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ทำให้เกิดผลดีต่อการศึกษาอย่างมาก
http://myweb.cmu.ac.th/550210290/future.html
6. ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับเกษตรกรรม
        ในปัจจุบันได้นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการเกษตร ทั้งการผลิตคิดค้นเครื่องจักรกลทางการเกษตร และพัฒนากระบวนการผลิตแทนการเกษตรแบบดั้งเดิมที่ใช้กำลังคน หรือสภาพแวดล้อมเป็นหลัก เช่น การคัดเลือกพันธุ์ การปรับปรุงพันธุ์ การเพิ่มผลผลิต เป็นต้น ส่งผลให้เกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ระบบเกษตรกรรมมีความก้าวหน้า สร้างรายได้มหาศาลแก่ประเทศชาติ

การวิจัยพันธุ์พืชในห้องทดลอง
http://it16msu2.blogspot.com/2013/08/blog-post_9369.html

7. ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับอุตสาหกรรมการผลิต
        การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ผลิตได้ปริมาณมากขึ้น ประหยัดแรงงานลดต้นทุนการผลิต และลดความเสี่ยงในการปฏิบัติงาน
เทคโนโลยีกับอุตสาหกรรมยานยนต์
https://sites.google.com/site/pnru29tourism/thekhnoloyi-kab-xutsahkrrm

8. ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับการสื่อสาร
        การสื่อสารมีความสำคัญต่อมนุษย์ เราสามารถสื่อสารกับบุคคลอื่นได้หลากหลายรูปแบบ เช่นการสื่อสารด้วยภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษาท่าทาง และการสื่อสารด้วยงานศิลปะ วิธีการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย เพื่อสื่อกลางหรือช่องทางในการสื่อสารเช่น การสื่อสารผ่านสื่อวิทยุและโทรศัพท์ การสื่อสารผ่านตัวอักษรเบรลล์ (The Braille code) การสื่อสารผ่านภาษามือ การสื่อสารผ่านรูปภาพ
 

การสื่อสารผ่านตัวอักษรเบรลล์

การสื่อสารด้วยโทรศัพท์มือถือในปัจจุบัน การสื่อสารด้วยภาษามือ
9. เทคโนโลยีกับสาธารณสุขและการแพทย์
        ปัจจุบันวิทยาการทางการแพทย์เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว มีการค้นพบสาเหตุของการเกิดโรค และคิดค้นวิธีการรักษาโรคที่รักษาได้ยากหรือไม่สามารถรักษาได้ในอดีตด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์อันทันสมัย เช่น การใช้กล้องจุลทรรศน์ในการผ่าตัด การใช้กล้องแคปซูลในการตรวจทางเดินอาหาร (Endoscopy) การคิดค้นยารักษาโรคที่ออกฤทธิ์เฉพาะจุดที่เกิดโรค ทำให้ประชากรมีอายุเฉลี่ยสูงขึ้น ในขณะเดียวกันการพัฒนาเทคโนโลยีบางด้านต้องอาศัยองค์ความรู้จากการศึกษาวิจัยด้านการแพทย์ เช่น การใช้ข้อมูลทางการแพทย์ในการออกแบบเข็มขัดนิรภัยและถุงลมนิรภัยในรถยนต์ เพื่อป้องกันหรือลดการบาดเจ็บของผู้โดยสาร เป็นต้น อาจกล่าวได้ว่าเทคโนโลยีกับการแพทย์ต่างมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันเพื่อประโยชน์ต่อชีวิตมนุษย์
        เครื่องเอ็กเรย์ เป็นเทคโนโลยีที่เกิดจากการนำองค์ความรู้ด้าน
วิทยาศาสตร์มาพัฒนาเครื่องมือทางการแพทย์สำหรับถ่ายภาพใน
ร่างกายที่มองไม่เห็น ด้วยรังสีเอกซ์เพื่อใช้ในการวินิจฉัยโรคได้อย่างรวดเร็ว
โดยผู้ป่วยไม่รู้สึกเจ็บปวด

ที่มา : http://www.sukumvithospital.com
10. เทคโนโลยีกับเศรษฐศาสตร์
        เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาเกี่ยวกับการจัดสรรหรือแบ่งส่วนทรัพยากรไว้ใช้ประโยชน์เพื่อนำมาสนองความต้องการ ของมนุษย์ ให้เกิดประโยชน์ และประสิทธิภาพสูงสุดด้วยการผลิต การค้า การกระจายสินค้า และการบริโภค เพื่อความอยู่ดีกินดีของมนุษย์ ซึ่งการออกแบบ และสร้างหรือพัฒนา เพื่อการแก้ปัญหา หรือสนองความต้องการของมนุษย์ภายใต้ข้อจำกัดของทรัพยากรเงื่อนไขหรือข้อกำหนด จำเป็นต้องอาศัยหลักการทางเศรษฐศาสตร์ มาช่วยจัดสรรหรือแบ่งส่วนทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุด ในขณะที่เทคโนโลยีเข้าไปมีส่วนทำให้การจัดการด้านการผลิต การค้า การกระจายสินค้า และบริโภคในทางเศรษฐศาสตร์ทำได้ง่าย และรวดเร็วขึ้น เช่น โลจิสติกส์ (Logistics) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการโซ่อุปทาน โดยทำการวางแผน เพื่อนำไปปฏิบัติและทำการควบคุมการไหลเวียนของสินค้า การบริการ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จากจุดเริ่มต้นไปจนถึงจุดที่มีการบริโภคเพื่อให้บรรลุความต้องการของลูกค้า
ตัวอย่างแผนผังระบบโลจิสติกส์ (Logistics)
ที่มา : http://www.ftilogistics.org
<< ก่อนหน้า     ถัดไป>>
 
ดัชนี [  1.1 ธรรมชาติของเทคโนโลยี ] [ 1.2 ความสำคัญของเทคโนโลยี ] [ 1.3 ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่น ] [ กลับหน้าแรก ]
 
 

จัดทำโดย ครูวีรศักดิ์ จันทร์สุข
โรงเรียนคุรุประชาสรรค์ อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท
E-mail : weerasak_ch26@hotmail.com หรือ krurock.kuru@gmail.com