: หน้าแรก

    : แนะนำการใช้บทเรียนออนไลน์

    : คำอธิบายรายวิชา
    : แบบทดสอบก่อนเรียน
    1. ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่น
    2. ระบบเทคโนโลยี
        จุดประสงค์การเรียนรู้
         แบบทดสอบก่อนเรียน
        2.1 ระบบเทคโนโลยี
        2.2 การวิเคราะห์ระบบเทคโนโลยี
              - ระบบการขนส่ง
              - ระบบการติดต่อสื่อสาร
              - ระบบการผลิต
     2.3 การวิเคราะห์ระบบ
        2.4 ผลกระทบจากการพัฒนาเทคโนโลยี
        แบบฝึกหัดท้ายบท
        แบบทดสอบท้ายบทเรียน
    3. นวัตกรรมและการต่อยอด
    4.โครงงานเทคโนโลยีกับการแก้ปัญหา
    5. เทคโนโลยีสมองกลอัจฉริยะ
    : ข้อมูลผู้เรียน
    : ผลการทดสอบก่อน-หลังเรียน
    : แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม
    : ผู้จัดทำ
 
สวัสดีคุณ      รหัสประจำตัว     [ แก้ไขข้อมูล ] [ ออกจากระบบ ]  
         
   
 
        การวิเคราะห์ระบบจะเป็นขั้นตอนที่บอกให้ทราบว่า ใครจะเป็นผู้ใช้ระบบ ระบบจะทำอะไรบ้าง จะใช้กันที่ไหน และใช้เมื่อไร หากมีงานในระบบเดิมอยู่แล้ว ก็ต้องเข้าไปทำการศึกษาระบบเดิมที่มีอยู่ว่าเป็นอย่างไร หาวิธีการปรับปรุงให้ดีขึ้น ตลอดจนพัฒนาแนวคิดต่างๆ สำหรับระบบใหม่

        ดังนั้นการวิเคราะห์ระบบคือ กระบวนการศึกษา สำรวจ วิจัย เพื่อทราบข้อมูล สาเหตุ หรือคำตอบเพื่อ นำไปสู่การปรับปรุงระบบการทำงานต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น รวมถึงนำข้อมูลที่ได้จากการประเมินผล มาใช้ในการแก้ไขข้อบกพร่องในส่วนต่างๆ ของเทคโนโลยี หรือการดูข้อมูลย้อนกลับ (Feed back) เพื่อนำมา วิเคราะห์ระบบทำให้เกิดวิธีการหรือขั้นตอน (System Approach) เพื่อนำไปแก้ปัญหาอย่างตรงเป้าหมายและ
การปรับปรุงที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

        ซึ่งขั้นตอนของการวิเคราะห์ระบบ มีดังนี้

 
 
 
 
 
          1. ปัญหา (Identify Problem) เป็นขั้นการตั้งปัญหาหรือกำหนดปัญหา ซึ่งขั้นนี้จะต้องศึกษาว่า ปัญหาคืออะไร และปัญหาอะไรที่ควรจะแก้ไข

         2. จุดมุ่งหมาย (Objectives) เป็นขั้นกำหนดจุดมุ่งหมาย/เป้าหมาย/วัตถุประสงค์เพื่อการแก้ไข ปัญหา ซึ่งจะต้องระบุให้ชัดเจนและสอดคล้องกับปัญหา

         3. ศึกษาข้อจำกัดต่างๆ (Constraints) เป็นขั้นสร้างเครื่องมือในการวัดผล โดยจะต้องสร้างเครื่อง มือก่อนการทดลองเพื่อให้การวัดผลได้ผลตรงตามที่ต้องการ

         4. ทางเลือก (Alternatives) เป็นขั้นการสร้างทางเลือกต่างๆ สำหรับใช้ในการแก้ปัญหาที่จะดำเนิน การไปสู่เป้าหมายที่วางไว้

         5. พิจารณาทางเลือกเหมาะสม (Selection) เป็นขั้นการพิจารณาหาทางเลือกที่ดีที่สุดเพื่อนำไป ทดลองในขั้นต่อไป โดยพิจารณาถึงข้อดี ข้อเสีย ตลอดจนข้อจำกัดต่างๆ ด้วย

        6. การทดลองปฏิบัติ (Implementation) เป็นการนำทางเลือกที่เหมาะสมไปทดลองปฏิบัติเพื่อดูว่า สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงหรือไม่

        7. การประเมินผล (Evaluation) เป็นขั้นการวัดผลและประเมินผล เมื่อทำการทดสอบปฏิบัติแล้วก็ นำเครื่องมือที่สร้างไว้มาวัดผล เพื่อนำผลการทดสอบไปประเมินว่าปฏิบัติได้สำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่

         8. การปรับปรุงแก้ไข (Modification) เป็นการนำข้อบกพร่องที่พบจากการประเมินผล มาปรับปรุง แก้ไขจนกว่าจะได้ผลตามที่ต้องการ แล้วจึงนำไปใช้กับการแก้ปัญหาในระบบ
   
ดัชนี [  2.1 ระบบเทคโนโลยี ] [ 2.2 ตัวอย่างระบบเทคโนโลยี ] [ 2.3 การดำเนินงานของระบบเทคโนโลยี ] 2.4 ผลกระทบของระบบเทคโนโลยี ]
 
 

จัดทำโดย ครูวีรศักดิ์ จันทร์สุข
โรงเรียนคุรุประชาสรรค์ อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท
E-mail : weerasak_ch26@hotmail.com หรือ krurock.kuru@gmail.com