: หน้าแรก

    : แนะนำการใช้บทเรียนออนไลน์

    : คำอธิบายรายวิชา
    : แบบทดสอบก่อนเรียน
    1. หลักการเขียนโปรแกรม
       -  จุดประสงค์การเรียนรู้
         แบบทดสอบก่อนเรียน
        1.1 ความหมายของโปรแกรมคอมพิวเตอร์
        1.2 ระดับภาษาคอมพิวเตอร์
        1.3 โครงสร้างของข้อมูล
        1.4 หลักการพัฒนาการเขียนโปรแกรม
          แบบทดสอบท้ายบทเรียน
    2. ขั้นตอนการเขียนโปรแกรม
    3. โครงสร้างภาษาคอมพิวเตอร์
    4. กระบวนการเขียนโปรแกรม
    5. พอยน์เตอร์
    6. ฟังก์ชั่น
    7. การออกแบบโปรแกรมอย่างง่าย
    8. การโปรแกรมเพื่องานธุรกิจ
    : ข้อมูลผู้เรียน
    : แบบทดสอบหลังเรียน
    : แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม
    : ผู้จัดทำ
 
สวัสดีคุณ      รหัสประจำตัว     [ แก้ไขข้อมูล ] [ ออกจากระบบ ]  
           
 
 
   

1.2 ภาษาคอมพิวเตอร์


         ภาษาคอมพิวเตอร์มีการพัฒนาหรือมีวิวัฒนาการมาโดยลำดับ จะสามารถแบ่งออกเป็นยุคของภาษา (Generation) ซึ่งในยุคหลังๆ จะมีการพัฒนาภาษาให้มีความสะดวก ในการอ่าน และเขียนง่ายขึ้นกว่าภาษาในยุคแรกๆ เนื่องขจากมีโครงสร้างภาษาใกล้เคียงกับภาษาอังกฤษหรือภาษาที่มนุษย์เข้าใจได้

         ภาษาคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ยุค ดังนี้

         1.2.1 ยุคที่ 1 ภาษาเครื่อง ( Matchine Language )
         เป็นภาษาที่เกิดขึ้นในยุคแรกสุด และเป็นภาษาเดียวที่เครื่องคอมพิวเตอร์จะสามารถเข้าใจคำสั่งได้ ภาษาเครื่องจะแทนข้อมูลหรือคำสั่งในโปรแกรมด้วยกลุ่มของตัวเลข 0 และ 1 หรือที่เรียกว่าเลขฐานสอง ซึ่งเป็นภาษาที่มนุษย์เข้าใจยาก โดยจะสัมพันธ์กับการเปิด (On) และการปิด (Off) ของสัญญาณไฟฟ้าภายในเครื่องคอมพิวเตอร์
   
       
   
         1.2.2 ยุคที่ 2 ภาษาแอสเซมบลี ( Assembly Language )
         เป็นภาษาที่มีการใช้ตัวอักษรในภาษาอังกฤษมาแทนกลุ่มของตัวเลขฐานสอง ( 0,1 ) และเรียกอักษรสัญลักษณ์ที่เป็นคำสั่งนี้ว่าสัญลักษณ์ข้อความ ( mnemonic code )เพื่อให้ง่ายต่อการเขียนและการจดจำมากขึ้น ภาษาแอสเซมบลียังจัดเป็นภาษาระดับต่ำ (Low-Level Language ) การทำงานของโปรแกรมจะต้องทำการแปลภาษาแอสเซมบลีให้เป็นภาษาเครื่อง โดยใช้ตัวแปลที่เรียกว่า แอสเซมเบลอร์ (Assembler) จึงจะสามารถสั่งงานคอมพิวเตอร์ให้ทำงานได้

         นอกจากนี้ผู้ที่จะเขียนโปรแกรมภาษาแอสแซมบลี ได้จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของฮาร์ดแวร์เป็นอย่างดี เนื่องจากต้องยุ่งเกี่ยวกับการใช้งานหน่วยความจำที่เป็นรีจิสเตอร์ภายในตลอด ดังนั้นจึงเหมาะกับงานที่ต้องการความเร็วในการทำงานสูง ถึงแม้ว่าภาษานี้จะง่ายกว่าการเขียนภาษาเครื่อง แต่ก็ยังถือว่าเป็นภาษาชั้นต่ำที่ยังยากต่อการเขียนและการเรียนรู้มากสำหรับผู้ที่ไม่มีความรู้ด้านฮาร์ดแวร์นัก
         ภาษาแอสเซมบลีเป็นภาษาที่ง่ายกว่าการเขียนด้วยภาษาเครื่อง แต่ก็ยังถือว่าเป็นภาษาระดับต่ำที่ยากต่อการเขียนของนักพัฒนาโปรแกรมมาก จึงไม่เป็นที่นิยมในการนำมาพัฒนาโปรแกรม
การแปลภาษาแอสเซมบลี
         1.2.3 ยุคที่ 3 ภาษาระดับสูง ( High-level Language)
         ภาษาระดับสูงถือว่าเป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในยุคที่สาม ( Third-generation language) ที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในปี ค.ศ. 1960 โดยมีโครงสร้างภาษา และชุดคำสั่งเหมือนกับภาษาอังกฤษ รวมทั้งสามารถใช้นิพจน์ทางคณิตศาสตร์ในการคำนวณได้ด้วย ทำให้ผู้เขียนโปรแกรมสะดวกในการเขียนคำสั่ง และแสดงผลลัพธ์ได้ตามต้องการ ลดความยุ่งยากในการเขียนโปรแกรมลงได้มาก ทั้งยังทำให้เกิดการใช้งานคอมพิวเตอร์ เพื่อการประมวลผลเพิ่มขึ้น เช่นการควบคุมและสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรม การแก้ปัญหาเฉพาะด้านทางด้านอุตสาหกรรม เช่น การควบคุมเครื่องจักรกลต่างๆ เป็นต้น

         การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงจะต้องใช้ตัวแปลภาษา ที่เรียกว่า คอมไพเลอร์ (Compiler) หรือ อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreter)เพื่อแปลภาษาระดับสูงโดยการตรวจสอบไวยากรณ์ของภาษาระดับสูง ไปเป็นภาษาเครื่องเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานต่อไป โดยคอมไพเลอร์ของภาษาระดับสูงแต่ละภาษาจะแปลเฉพาะภาษาของตนเอง และทำงานได้เฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดเดียวกันเท่านั้น เช่น คอมไพเลอร์ของภาษา COBOL บนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ จะแปลภาษาเฉพาะคำสั่งของภาษา COBOL และจะทำงานได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมือนกันเท่านั้น ถ้าต้องการนำไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบอื่นๆ เช่น เมนเฟรม จะต้องใช้คอมไพเลอร์ของภาษา COBOL แบบใหม่

         ตัวอย่างของภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงได้แก่ ภาษา BASIC ภาษา COBOL ภาษา FORTRAN และ ภาษา C ที่ได้รับความนิยมมากเช่นกัน สามารถเขียนโปรแกรมแก้ปัญหาเฉพาะด้าน เช่น การควบคุมหุ่นยนต์ การสร้างภาพกราฟิก ได้เป็นอย่างดีเพราะมีความยืดหยุ่นและเหมาะกับการใช้งานทั่วๆ ไปได้

         ภาษาระดับสูงจัดเป็นภาษาที่มีแบบแผน (Procedural Language) เนื่องจากลักษณะการเขียนโปรแกรม จะมีโครงสร้างแบบแผนที่เป็นระเบียบ คือ งานทุกอย่างผู้เขียนโปรแกรมต้องเขียนโปรแกรมควบคุมการทำงานเองทั้งหมด และต้องเขียนคำสั่งการทำงานที่เป็นขั้นเป็นตอนทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นการสร้างแบบฟอร์มกรอกข้อมูล การประมวลผล หรือการสร้างรายงาน ซึ่งโปรแกรมที่เขียนจะซับซ้อน และใช้เวลาในการพัฒนานาน


รูปแบบภาษาและการแปลภาษาระดับสูง

         1.2.4 ยุคที่4 ภาษาระดับสูงมาก ( Very high-level Language)
         ภาษาระดับสูงมากเป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ยุคที่สี่ ( Fourth-generation language) ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมด้วยคำสั่งสั้นๆและง่ายกว่าภาษาในยุคก่อนๆ มีการทำงานแบบไม่จำเป็นต้องบอกลำดับของขั้นตอนการทำงาน ( Nonprocedural language) เพียงนักเขียนโปรแกรมกำหนดว่าต้องการให้โปรแกรมทำอะไรเท่านั้นโดยไม่ต้องทราบว่าทำได้อย่างไร ทำให้เขียนโปรแกรมได้ง่ายและรวดเร็ว กว่าภาษาระดับสูงในยุคที่ 3 ที่มีการเขียนโปรแกรมแบบบอกขั้นตอนการทำงาน ( Procedural language) ภาษาระดับสูงมากทำงานเหมือนกับภาษาพูดว่าต้องการอะไร และเขียนเหมือนภาษาอังกฤษ
ดังตัวอย่าง เช่น

TABLE FILE SALES
SUM UNITS BY MONTH BY CUSTOMER BY PRODUCT
ON CUSTOMMER SUBTOTAL PAGE BREAK
END

ข้อดีของภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 4
         • การเขียนโปรแกรมจะสั้นและง่าย เพราะเน้นที่ผลลัพธ์ของงานว่าต้องการอะไร โดยไม?สนใจว่าจะทำได้อย่าง ไร
         • การเขียนคำสั่ง สามารถทำได้ง่ายและแก้ไข เปลี่ยนแปลงโปรแกรมได้สะดวก ทำให้พัฒนาโปรแกรมได้รวดเร็วขึ้น
         • ผู้เขียนโปรแกรมสามารถเขียนโปรแกรมได้เร็ว โดยไม่ต้องเสียเวลาอบรม หรือมีความรู้ด้านการเขียนโปรแกรมหรือไม่ เพราะชุดคำสั่งเหมือนภาษาพูด
         • ผู้เขียนโปรแกรมไม่จำเป็นต้องทราบถึงฮาร์ดแวร์ ของเครื่องและโครงสร้างคำสั่งของภาษาโปรแกรม

         ตัวอย่างภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 4 ประกอบด้วย Report Generators, Query Language, Application Generators และ Interactive Database Management System Programs

         ภาษาที่ใช้สำหรับเรียกดูข้อมูลจากฐานข้อมูลได้เรียกว่า ภาษาสอบถาม ( Query languages) จัดเป็นภาษาในยุคที่ 4 ซึ่งสามารถใช้ค้นคืนสารสนเทศของฐานข้อมูล มาตรฐานของภาษาชนิดนี้ขึ้นอยู่กับฐานข้อมูลที่แตกต่างกัน ที่นิยมใช้กันมากที่สุดคือ SQL(Structured Query Language) และนอกจาก นี้ยังมีภาษา Query By Example หรือ QBE ที่ได้รับความนิยมในการใช้งาน

         Report Generator หรือ Report Writer คือโปรแกรมสำหรับผู้ใช้ ( End user) ที่ใช้สำหรับสร้างรายงาน รายงานอาจแสดงที่เครื่องพิมพ์หรือจอภาพก็ได?อาจจะแสดงทั้งหมดหรือบางส่วนของฐานข้อมูลก็ได้ ท่านอาจจะกำหนดรูปแบบบรรทัดคอลัมน์ส่วนหัวรายงาน และอื่นๆได้
         Application Generators คือเครื่องมือของผู้เขียนโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างโปรแกรมประยุกต์ จากการอภิปรายปัญหาได้เร็วกว่าการเขียนโปรแกรมทั่วๆไป

         1.2.4 ยุคที่5 ภาษาธรรมชาติ ( Natural Language)
         ภาษาธรรมชาติจัดเป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ยุคที่ห้า ( Fifth generation language) คือการเขียนคำสั่ง หรือสั่งงานคอมพิวเตอร์ทำงานโดยการใช้ภาษาธรรมชาติต่างๆ เช่น ภาพ หรือ เสียง โดยไม่สนใจรูปแบบไวยากรณ์หรือโครงสร้างของภาษามากนัก ซึ่งคอมพิวเตอร์จะพยายามคิดวิเคราะห์ และแปลความหมายโดยอาศัยการเรียนรู้ด้วยตนเองและระบบองค์ความรู้ ( Knowledge Base System) มาช่วยแปลความหมายของคำสั่งต่างๆและตอบสนองต่อผู้ใช้งาน
ตัวอย่างภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 5 เช่น

                                                      SUM SHIPMENTS BY STATE BY DATE

         ข้อดี ของภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 5 คือผู้เขียนโปรแกรมสามารถเขียนโปรแกรมได้เร็ว โดยไม่ต้องมีความรู้ด้านการเขียนโปรแกรม แต่คอมพิวเตอร์ที่ใช้โปรแกรมต้องมีระบบรับคำสั่ง และประมวลผลแบบอัจฉริยะ สามารถตอบสนองและทำงานได้หลายแบบ
ดัชนี [ ภาษาเครื่อง ] [ ภาษาแอสเซมบลี ] [ ภาษาระดับสูง ] [ ภาษาระดับสูงมาก ] [ ภาษาธรรมชาติ ]
[ กลับด้านบน ]
 

จัดทำโดย ครูวีรศักดิ์ จันทร์สุข
โรงเรียนคุรุประชาสรรค์ อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท
E-mail : weerasak_ch26@hotmail.com หรือ krurock.kuru@gmail.com