: หน้าแรก

    : แนะนำการใช้บทเรียนออนไลน์

    : คำอธิบายรายวิชา
    : แบบทดสอบก่อนเรียน
    1. หลักการเขียนโปรแกรม
        - จุดประสงค์การเรียนรู้
         แบบทดสอบก่อนเรียน
        1.1 ความหมายของโปรแกรมคอมพิวเตอร์
        1.2 ระดับภาษาคอมพิวเตอร์
        1.3 โครงสร้างของข้อมูล
        1.4 หลักการพัฒนาการเขียนโปรแกรม
          แบบทดสอบท้ายบทเรียน
    2. ขั้นตอนการเขียนโปรแกรม
    3. โครงสร้างภาษาคอมพิวเตอร์
    4. กระบวนการเขียนโปรแกรม
    5. พอยน์เตอร์
    6. ฟังก์ชั่น
    7. การออกแบบโปรแกรมอย่างง่าย
    8. การโปรแกรมเพื่องานธุรกิจ
    : ข้อมูลผู้เรียน
    : แบบทดสอบหลังเรียน
    : แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม
    : ผู้จัดทำ
 
 
สวัสดีคุณ      รหัสประจำตัว     [ แก้ไขข้อมูล ] [ ออกจากระบบ ]  
 
 
   
         ข้อมูลเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในระบบคอมพิวเตอร์ เป็นสิ่งที่ต้องป้อนเข้าไปในเครื่องคอมพิงเตอร์ โดยผู้พัฒนาโปรแกรมจำเป็นต้องรู้จักข้อมูลแต่ละประเภทที่นำมาใช้ในการเขียนโปรแกรม ข้อมูลที่สามารถนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ได้ มี 5 ประเภท คือ ข้อมูลตัวเลข (Numeric Data) ข้อมูลตัวอักษร (Text Data) ข้อมูลเสียง (Audio Data) ข้อมูลภาพ (Image Data) และข้อมูลภาพเคลื่อนไหว (Video Data)
   
   
             บิต (Bit) เป็นหน่วยข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด ซึ่งเป็นข้อมูลที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจและนำไปใช้งานได้ ได้แก่ เลข 0 และ เลข 1
 
   
   
         ไบต์ (Byte) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่เป็นเลขฐานสองจำนวน 8 หลัก หรือ 8 บิต ที่ใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวอักษร ตัวเลข หรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ เพียง 1 ตัว ตามรหัสแอสกี (ASCII) เช่น A B C ก ข ค ง ฯลฯ เป็นต้น หรือจำนวนเต็ม 1 จำนวน (128 ถึง 127 เมื่อคิดเครื่องหมายหรือ 0 ถึง 255 เมื่อไม่คิดเครื่องหมาย) เช่น 01000001 คือ ตัว A หรือ 01100010 คือ ตัว B โดย 8 บิตเท่ากับ 1 ไบต์         ไบต์จึงเป็นหน่วยข้อมูลที่มีขนาดใหญ่กว่าบิต และนิยมใช้เป็นหน่วยวัดความจุในการเก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์หรือสื่อบันทึกข้อมูลด้วย หน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ นิยมวัดเป็นกิโลไบต์ (Kilobyte) เมกะไบต์ (Megabyte) กิกะไบต์ (Gigabyte) และเทระไบต์ (Terabyte) ซึ่งหน่วยวัดข้อมูลของคอมพิวเตอร์ มีดังนี้

         1 ไบต์ = 8 บิต
         1 กิโลไบต์ = 1,024 ไบต์
         1 เมกะไบต์ = 1,048,576 ไบต์ หรือ 1,024 กิโลไบต์
         1 กิกะไบต์ = 1,073,741,824 ไบต์ หรือ 1,024 เมกะไบต์
         1 เทระไบต์ = 1,099,511,627,776 ไบต์ หรือ 1,024 กิกะไบต์

         นอกจากนี้ยังมี เพตะไบต์ (Petabyte) เอกซะไบต์ (Exabyte) เซตตะไบต์ (Zettabyte) และยอตตะไบต์ (Yottabyte) หากแต่ในปัจจุบันยังไม่มีสื่อบันทึกข้อมูลใดที่สามารถเก็บข้อมูลได้มากขนาดนั้น

 
   
             ฟิลด์ (Flied) คือ อักขระ ตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไป รวมกันเป็น ฟิลด์ เช่น เลขประจำตัว ชื่อสกุลนักเรียน ที่อยู่ เป็นต้น  
   
            เรคคอร์ด (Record) คือ การนำเอาฟิลด์ตั้งแต่ 1ฟิลด์ขึ้นไปและมีความสัมพันธ์มารวมกลุ่มกัน เช่น นักเรียนแต่ละคนจะมีข้อมูลที่เกี่ยวกับ ชื่อ สกุล อายุ เพศ เกรดเฉลี่ยฯลฯ โดยข้อมูลในลักษณะนี้คือ 1 เรคคอร์ดนั่นเอง  
        แฟ้มข้อมูล หรือ ไฟล์ ( Flies) คือ เรคคอร์ดหลายๆ เรคคอร์ดรวมกัน และเป็นเรื่องเดียวกัน เช่น แฟ้มข้อมูลนักเรียนห้อง ม.1/1 จำนวน 50 คน ทุกคนจะมีข้อมูลเกี่ยวกับ ชื่อ สกุล เพศ อายุ เกรดเฉลี่ย ฯลฯ ซึ่งข้อมูลทั้งหมดนี้ของนักเรียนจำนวน 50 คนนี้ เรียกว่า แฟ้มข้อมูล

โครงสร้างของข้อมูล ( Datat Structure )

          ฐานข้อมูล (Database) คือ การเก็บรวบรวมไฟล์หรือแฟ้มข้อมูลหลายๆ ไฟล์ที่เกี่ยวข้องมารวมกัน เช่น ไฟล์ข้อมูลของนักเรียนที่เรียนในระดับชั้นต่างๆ ข้อมูลครูผู้สอน ข้อมูลวิชาที่เรียน ข้อมูลผลการเรียน มารวมกันเป็นฐานข้อมูลของโรงเรียน เป็นต้น
           
ดัชนี [ บิต ] [ ไบต์ ] [ ฟิลด์ ] [ เรคคอร์ด ] [ ไฟล์ ] [ ฐานข้อมูล ] [ กลับด้านบน ]
 

จัดทำโดย ครูวีรศักดิ์ จันทร์สุข
โรงเรียนคุรุประชาสรรค์ อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท
E-mail : weerasak_ch26@hotmail.com หรือ krurock.kuru@gmail.com