แบบทดสอบก่อนเรียน
     จุดประสงค์การเรียนรู้
      1. บทบาทและการสื่อสารข้อมูล
      2. การสื่อสารข้อมูล
      3. สื่อกลางในการสื่อสารข้อมูล
      4. เครือข่ายคอมพิวเตอร์
      5. โพโตคอล
      6. อุปกรณ์ในการสื่อสารข้อมูล
      7. ตัวอย่างการติดตั้งเครือข่าย
       แบบฝึกหัดครั้งที่ 1
       แบบฝึกหัดครั้งที่ 2
     แบบทดสอบหลังเรียน
     ผลการทดสอบหลังเรียนบทที่ 1

  แบบทดสอบก่อนเรียน
  จุดประสงค์การเรียนรู้

      1. อินเตอร์เน็ต
      2. เวิลด์ไวด์เว็บ
      3. บริการบนอินเตอร์เน็ต
      4. การเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ต
      5. โปรแกรมที่ไม่พึงประสงค์
      6. ผลกระทบอินเตอร์เน็ต
      7. ข้อคิดจากการใช้อินเตอร์เน็ต

   ใบงาน

          ครั้งที่ 1 อินเตอร์เน็ต
          ครั้งที่ 2 การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
          ครั้งที่ 3 ผลกระทบอินเตอร์เน็ต

     แบบทดสอบหลังเรียน

     ผลการทดสอบหลังเรียนบทที่ 2
 
 
 
 
 
1.2 การสื่อสารข้อมูล
 

             การสื่อสารข้อมูลหมายถึง การแลกเปลี่ยนข้อมูล/ข่าวสารโดยผ่านทางสื่อกลางในการสื่อสาร
ซึ่งอาจเป็นสื่อกลาง ประเภทที่มีสาย หรือไร้สายก็ได้ องค์ประกอบพื้นฐานของระบบสื่อสารข้อมูล
ประกอบด้วย

             1.ข้อมูล/ข่าวสาร (data/message) คือ ข้อมูลหรือสารสนเทศต่างๆ ที่ต้องการส่งไปยัง
ผู้รับโดยข้อมูล/ข่าวสาร อาจประกอบด้วยข้อความ ตัวเลข รูปภาพ เสียง วีดิทัศน์ หรือสื่อประสม

             2.ผู้ส่ง (sender) คือ คนหรืออุปกรณ์ที่ใช้สำหรับส่งข้อมูล/ข่าวสาร ซึ่งอาจเป็นเครื่อง
คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ กล้องวีดิทัศน์ เป็นต้น

             3.ผู้รับ (receiver) คือ คนหรืออุปกรณ์ ที่ใช้สำหรับรับข้อมูล/ข่าวสารที่ทาง ผู้ส่งข้อมูล
ส่งให้ซึ่งอาจเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ เป็นต้น

             4.สื่อกลางในการส่งข้อมูล (transmission media) คือ สิ่งที่ทำหน้าที่รับส่งข้อมูล/
ข่าวสาร ไปยังจุดหมายปลายทาง โดยสื่อกลางในการส่งข้อมูลจะมีทั้ง แบบมีสาย เช่น สายเคเบิล
สายยูทีพี สายไฟเบอร์ออพติก และสื่อกลางในการส่งข้อมูลแบบไร้สาย เช่น คลื่นวิทยุ ไมโครเวฟ
และดาวเทียม

             5.โพรโทคอล (protocol) คือ กฎเกณฑ์ ระเบียบ หรือข้อปฏิบัติต่างๆ ที่กำหนดขึ้นมาเพื่อเป็นฯข้อตกลงในการสื่อสารข้อมูลระหว่างผู้รับและผู้ส่ง

 
 

             1.2.1 สัญญาณที่ใช้ในการสื่อสาร แบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภทคือ สัญญาณแอนะล็อก
(analog signal)
และสัญญาณดิจิทัล (digital signal) สัญญาณแอนะล็อกและสัญญาณดิจิทัล
ที่มีขนาดแอมพลิจูด (amplitude) ที่เปลี่ยนแปลงตามเวลาและเป็นค่าต่อเนื่อง เช่น เสียงพูด
และเสียงดนตรี ส่วนสัญญาณดิจิทัลเป็นสัญญาณ ที่ไม่มีความต่อเนื่องที่เรียกว่า ดีสครีต (discrete)
สัญญาณดิจิทัลถูกแทนด้วยระดับแรงดันไฟฟ้าสองระดับ เท่านั้นโดยแสดงลักษณะเป็น “0” และ “1”
ซึ่งตรงกับตัวเลขฐานสอง

 
 
              ในบางครั้งการสื่อสารข้อมูลต้องมีการแปลงสัญญาณแอนะล็อกและดิจิทัลกลับไปมา เพื่อให้อยู่
ในรูปแบบที่เหมาะสม และนำไปใช้งานได้ ตัวอย่างเช่น การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ สองเครื่องเข้าด้วย
กันโดยผ่านระบบโทรศัพท์ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อรองรับเสียงพูด ที่มี ลักษณะของสัญญาณเป็นแบบ
แอนะล็อก ไม่เหมาะสมสำหรับการส่งข้อมูลแบบดิจิทัล ระหว่างคอมพิวเตอร์ จึงต้องมีอุปกรณ์ช่วยในการ
แปล สัญญาณดิจิทัลจากคอมพิวเตอร์ เพื่อส่งออกไปเป็นสัญญาณแอนะล็อก จากนั้นจะแปลงกลับ เป็น
สัญญาณ ดิจิทัลเมื่อ สัญญาณถูกส่งถึงผู้รับ โดยผ่านอุปกรณ์ในการแปลงสัญญาณ ที่เรียกว่า โมเด็ม
(Modem) ซึ่งใช้เทคนิคการบีบอัดข้อมูลร่วมกับการแก้ไขข้อผิดพลาดของข้อมูลที่อาจเกิดขึ้นจากการส่ง
สัญญาณด้วย
 
 
ผู้จัดทำเว็บไซต์ ครูวีรศักดิ์ จันทร์สุข
โรงเรียนหันคาพิทยาคม อ.หันคา จ.ชัยนาท
หน้าแรก